แอปซ่อมบำรุง CMMS
9. รายชื่อผู้ใช้งาน

การจัดการตั้งค่าอื่นๆในแอป

9. รายชื่อผู้ใช้งาน

9.1 รายชื่อผู้ใช้งาน

ในหน้ารายชื่อผู้ใช้งานนั้น จะแสดงจำนวน User และรายชื่อของผู้ใช้งานทั้งหมดของระบบ และยังสามารถกับหนด ระดับสิทธิ์การใช้งานของแต่ละ User ชื่อ นามสกุล Email เบอร์โทรศัพท์ ของแต่ละ User ที่ใช้งานได้ และที่สำคัญเลยก็คือการที่ผู้ใช้งานแต่ละ User  ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าที่เมนู รายชื่อผู้ใช้งาน

เมื่อคลิกเข้ามาที่เมนู รายชื่อผู้ใช้งาน จะแสดงจำนวน User ท้ังหมดที่มีในระบบ และสามารถกำหนดรายชื่อของผู้ใช้งานทั้งหมดของระบบ และยังสามารถกับหนด ระดับสิทธิ์การใช้งานของแต่ละ User ชื่อ นามสกุล Email เบอร์โทรศัพท์ ของแต่ละ User ที่ใช้งานได้ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานและเป็นกการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลในแต่ละ User ได้

9.2 Reset Password

บ่อยครั้งที่ผู้ใช้งานแต่ละ User นั้นจะลืมรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งานระบบ เพื่อให้สะดวกและง่าย โดยผู้ที่ดูและรบบสามารถทำการ Reset Password ให้กับผู้ใช้งานที่ลืมรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่ระบบได้ที่เมนู รายชื่อผู้ใช้งาน

ให้ทำการค้นหา รายชื่อของ User ที่ลืมรหัสผ่าน และทำการคลิกที่ รีเซ็ต รหัสผ่าน

เมื่อคลิกที่ รีเซ็ต รหัสผ่าน แล้วระบบจะเปิดหน้า รีเซ็ตรหัสผ่าน และจะมีข้อความ กรุณายืนยันการรีเซ็ตรหัสผ่าน โดยให้ผู้ใช้งานคลิกที่ Reset It

เมื่อคลิกที่ Reset It แล้วระบบจะทำการ เปิดหน้าที่แสดงรหัสผ่านใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถ คัดลอกรหัสผ่านใหม่นี้ ส่งต่อไปยัง User ที่ลืมรหัสผ่านได้

10. รายชื่อซัพพลายเออร์

ในเมนู รายชื่อซัพพลายเออร์ จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบอยู่ 2 ส่วนหลักๆคือ หน้ารายชื่อเครื่องจักร / อุปกรณ์ และหน้าสต็อกอะไหล่ ผู้ใช้งานสามารถกำหนดรายชื่อซัพพลายเออร์ ได้ตามเมนู รายชื่อซัพพลายเออร์

เมื่อคลิกที่เมนู รายชื่อซัพพลายเออร์ ระบบจะทำการเปิดหน้าต่าง รายชื่อซัพพลายเออร์ ขึ้นมา

ให้คลิกที่ +เพิ่ม เพื่อทำการเพิ่มข้อมูลของซัพพลายเออร์

 

 

 

 

 

เมื่อคลิกที่ +เพิ่ม ระบบจะเปิดหน้า ซัพพลายเออร์ใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้งานเพิ่ม รายละเอียดต่างๆของ เช่น รหัส ชื่อบริษัท ชื่อย่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล แฟลกซ์ และเมื่อผู้ใช้งานกรอกข้อมูลดังกล่าวแล้วให้คลิกที่ บันทึก

เมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะเปิดหน้าต่าง Success Save Data Successful ให้ผู้ใช้งานคลิกที่ OK เป็นอันเสร็จ

11. ระยะเวลาการผลิต MTBF

ในระบบสามารถใส่ข้อมูลระยะเวลาในการผลิตรวมของทั้งโรงงาน เพื่อนำเวลาที่ได้ตรงนี้ไปคำนวน หรือจะได้ทราบระยะเวลาการผลิตรวมของทั้งโรงงานในแต่ละวันมีอยู่เท่าไหร่ โดยเข้าไปที่เมนู ระยะเวลาในการผลิต

 

เมื่อคลิกเข้ามาที่เมนู ระยะเวลาในการผลิต ระบบจะเปิดหน้ารระยะเวลาในการผลิตขึ้นมา

คลิกที่เลือกเดือน เพื่อเลือกเดือนที่ต้องการใส่ข้อมูลระยะเวลาในการผลิต

เมื่อเลือกเดือนที่ต้องการได้แล้ว ให้คลิกที่ ตกลง

จากนั้นให้คลิกที่ แสดงข้อมูล

เมื่อคลิกที่ แสดงข้อมูล ระบบจะทำการเปิดวันที่ ต่างๆในเเดือนที่เลือกขึ้นมา

 

ให้ใส่ตัวเลขระยะเวลาในการผลิตของแต่ละวัน ในช่องระยะเวลาในการผลิต (นาที)

เมื่อกรอกตัวเลขเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก

หลังจากคลิกที่ บันทึก ระบบขึ้นหน้าต่างแจ้งว่า Success Save Successful ให้คลิกที่ OK ก็เสร็จสิ้น

12. การตั้งค่า

12.1 เริ่มการตั้งค่า

การตั้งค่าระบบ และการใช้งานต่างๆ ผู้ใช้งานสามารถ เข้าใช้งานในเมนู ตั้งค่า

เมื่อคลิกเข้ามาที่เมนู ตั้งค่าแล้ว จะพบเมนูตั้งค่าต่างๆ อีกมากมาย

12.2 แจ้งเตือนผ่านอีเมล

เป็นการตั้งค่าเกี่ยวกับการรับอีเมลการแจ้งเตื่อนต่างๆ ในงานซ่อม งานบำรุงรักษา แจ้งเตือนผู้ให้บริการสอบเทียบ

ในกรณีที่ต้องการให้ระบบ ส่งอีเมล เมื่อมีการแจ้งซ่อม ให้ไปที่ แจ้งการซ่อม และคลิกที่ เพิ่มแผนก

คลิกเลือก แผนก ที่ต้องการจะให้ระบบส่งอีเมลเมื่อมีการแจ้งงานซ่อม ***หากต้องการให้ทุกแผนกได้รับอีเมลแจ้งเตือนเมื่อมีงานซ่อม แผนกให้เลือก ไม่ระบุ

 

จากนั้นให้ทำการกรอกอีเมลของผู้ที่ต้องการได้รับอีเมลเมื่อมีการแจ้งงานซ่อม ในช่องของอีเมล

หากอีเมลที่ต้องการให้ส่งมีมากกว่า 1 เมล เมื่อกรอกอีเมลคนแรกเสร็จแล้วให้กด tab ที่คีบอร์ด กรอกได้สูงสุดไม่เกิน 10 อีเมล จากนั้นเมื่อครบถ้วนแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะทำการแสดงข้อความว่า Success Updating Successful ให้คลิก ปิด ก็เสร็จขั้นตอนการตั้งค่า

ในกรณีที่ต้องการให้ระบบ ส่งอีเมล เมื่อมีงานบำรุงรักษา PM/AM ให้ไปที่ แจ้งเตือน PM/AM ส่งถึง

หากอีเมลที่ต้องการให้ส่งมีมากกว่า 1 เมล เมื่อกรอกอีเมลคนแรกเสร็จแล้วให้กด tab ที่คีบอร์ด กรอกได้สูงสุดไม่เกิน 10 อีเมล จากนั้นเมื่อครบถ้วนแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะทำการแสดงข้อความว่า Success Updating Successful ให้คลิก ปิด ก็เสร็จขั้นตอนการตั้งค่า

ในกรณีที่ต้องการให้ระบบส่งรายงานอัตโนมัติ ให้ไปที่ ระบบส่งรายงานอัตโนมัติ ส่งถึง

หากอีเมลที่ต้องการให้ส่งมีมากกว่า 1 เมล เมื่อกรอกอีเมลคนแรกเสร็จแล้วให้กด Enter ที่คีบอร์ด กรอกได้สูงสุดไม่เกิน 10 อีเมล จากนั้นเมื่อครบถ้วนแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะทำการแสดงข้อความว่า Success Updating Successful ให้คลิก ปิด ก็เสร็จขั้นตอนการตั้งค่า

ในกรณีที่ต้องการให้ระบบส่งอีเมล แจ้งเตือนเมื่อผู้ให้บริการสอบเทียบลงประวัติ ให้ไปที่ แจ้งเตือนเมื่อผู้ให้บริการสอบเทียบลงประวัติ ส่งถึง

หากอีเมลที่ต้องการให้ส่งมีมากกว่า 1 เมล เมื่อกรอกอีเมลคนแรกเสร็จแล้วให้กด tab ที่คีบอร์ด กรอกได้สูงสุดไม่เกิน 10 อีเมล จากนั้นเมื่อครบถ้วนแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะทำการแสดงข้อความว่า Success Updating Successful ให้คลิก ปิด ก็เสร็จขั้นตอนการตั้งค่า

12.3 ตั้งค่าการพิมพ์/รูปแบบ

เป็นการตั้งค่าเกี่ยวกับการการรันเลขที่ใบงานซ่อม และงานบำรุงรักษา PM/AM แบบอัตโนมัติ หัวเอกสารในระบบ เลขเอกสารควบคุมต่างๆ

ตั้งค่าการพิพม์

เป็นการตั้งค่าหัวกระดาษสำหรับพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์เท่านั้น โดยจะสามารถตั้งค่าหัวเอกสารผลการสอบเทียบ และหัวเอกสารรายการเครื่องจักร / อุปกรณ์ โดยพิมพ์ข้อความต่างๆเข้าไปได้ตามต้องการและกดบันทึก

และจะขอยกตัวอย่าง การตั้งค่าหัวเอกสารรายการเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ได้ตั้งค่าไว้ โดยดูได้จากหน้าเมนู รายชื่อเครื่องจักร / อุปกรณ์ > พิมพ์หน้าปัจจุบัน

กำหนดรูปแบบเลขที่ใบแจ้งซ่อม

เป็นการตั้งค่าให้ระบบรันเลขที่ใบงานซ่อมที่เกิดขึ้นในระบบแบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องให้ผู้ที่ทำการแจ้งซ่อมมาคอยกรอกเลขที่ใบงาน ทำให้สะดวกในการใช้งานและลดปัญหาเลขที่ใบงานซ่อมซ้ำกัน หากต้องการให้ระบบรันเลขที่ใบงานซ่อมให้อัตโนมัติ ก็ให้คลิกที่ รันเลขที่ใบแจ้งซ่อมอัตโนมัติ

เมื่อคลิกที่ รันเลขที่ใบแจ้งซ่อมอัตโนมัติ ระบบจะเปิดในส่วนของ รูปแบบเลขที่ใบแจ้งซ่อม

ในช่องว่าง สามารถใส่ตัวเลขหรือตัวอักษรได้ตามต้องการ ตัวอย่าง เช่น Work Repair Order เมื่อกรอกข้อมูลแล้วระบบ จะมีตัวอย่าง รูปแบบเลขที่ใบแจ้งซ่อม ให้ดูก่อน

เลือกจำนวนหลักของตัวนับ คือ การกำหนดให้ระบบมีเลขของงานว่าทั้งหมดกี่หลัก เริ่มจาก 2 หลัก และสูงสุดที่ 5 หลัก (ตัวอย่างผมจะเลือก 4 และให้สังเกตุ ตรงตัวอย่างจะเปลี่ยนแปลงตามที่เลือก)

  • 2 คือ มีเลขสองหลัก ตัวอย่าง 01,10,20,99
  • 3 คือ มีเลขสามหลัก ตัวอย่าง 001,110,520,999
  • 4 คือ มีเลขสี่หลัก ตัวอย่าง 0001,1110,3210,9999
  • 5 คือ มีเลขห้าหลัก ตัวอย่าง 00001,12340,23450,99999

เริ่มนับที่เลข คือ การกำหนดให้เลขที่ใบงานซ่อมที่เราจะตั้งค่าจะเริ่มนับจากเลขอะไร ตัวอย่าง อยากให้ระบบเริ่มนับจากเลข 88 ตรงตัวอย่างจะเปลี่ยนแปลงตามที่เลือก

รีเซ็ทเลข คือ การกำหนดให้เลขที่ใบงานกลับมาเริ่มต้น ที่เลข 1 อีกครั้ง โดยสามารถเลือกได้ ดังนี้

  • ไม่มีการรีเซ็ท คือ ไม่มีการให้ระบบกลับมานับเลขที่ใบงานที่ 1 อีกครั้ง
  • ทุกเดือน คือ ให้ระบบกลับมาเริ่มนับเลขที่ใบงานที่ 1 อีกครั้งทุกๆเดือน
  • ทุกไตรมาส คือ ให้ระบบกลับมาเริ่มนับเลขที่ใบงานที่ 1 อีกครั้งทุกๆไตรมาส
  • ทุกปี คือ ให้ระบบกลับมาเริ่มนับเลขที่ใบงานที่ 1 อีกครั้งทุกๆปี

และระบบยังสามารถให้ เลือกตามรูปแบบต่างๆที่ระบบมีเป็นพื้นฐาน ดังนี้

  • เติมรหัสแผนก คือ การเอารหัสของแผนกของคนที่ทำการแจ้งซ่อมมาแสดงในเลขที่ใบงานซ่อม     (***สามารถกำหนดค่าได้ในเมนู ตั้งค่า > แผนก หากเติมรหัสแผนก ทุกแผนกจะต้องมีรหัส)
  • เติมรหัสสถานที่ คือ การเอารหัสของสถานที่ตั้งของเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ทำการแจ้งซ่อมมาแสดงในเลขที่ใบงานซ่อม (***สามารถกำหนดค่าได้ในเมนู ตั้งค่า > สถานที่ตั้งเครื่อจักร / อุปกรณ์ หากเติมรหัสสถานที่ ทุกสถานที่จะต้องมีรหัส)
  • เติมรหัสสถานที่ย่อย คือ การเอารหัสของสถานที่ตั้งย่อยของเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ทำการแจ้งซ่อมมาแสดงในเลขที่ใบงานซ่อม (***สามารถกำหนดค่าได้ในเมนู ตั้งค่า > สถานที่ตั้งเครื่อจักร / อุปกรณ์ หากเติมรหัสสถานที่ย่อย ทุกสถานที่ย่อยจะต้องมีรหัส)
  • เติมรูปแบบวันที่ คือ กำหนดให้เลขที่ใบงานซ่อมมีการแสดงวันที่ เดือน ปี (ปี คศ)
  • เติมประเภทใบงานซ่อม คือ การเอาประเภทใบงานซ่อมมาแสดงในเลขที่ใบงานซ่อม (***สามารถกำหนดค่าได้ในเมนู ตั้งค่า > ประเภทใบงานซ่อม)

เมื่อทำการเลือกทุกอย่าง เสร็จแล้ว ให้กด บันทึก จะขอยกตัวอย่าง จะเติมรูปแบบวันที่ และ ประเภทใบงานซ่อม

กำหนดรูปแบบเลขที่ใบ PM/AM

เป็นการตั้งค่าให้ระบบรันเลขที่ใบงาน PM/AM แบบอัตโนมัติ ซึ่งการตั้งค่าต่างๆตะคล้ายคลึงกับการตั้งค่าเลขที่ใบแจ้งซ่อมอัตโนมัติ

เมื่อคลิกที่ รันเลขที่ใบ PM/AM อัตโนมัติ ระบบจะเปิดในส่วนของ กำหนดรูปแบบเลขที่ใบ PM/AM

ในช่องว่าง สามารถใส่ตัวเลขหรือตัวอักษรได้ตามต้องการ ตัวอย่าง เช่น แผนงานบำรุงรักษา เมื่อกรอกข้อมูลแล้วระบบ จะมีตัวอย่าง รูปแบบเลขที่ใบ PM/AM ให้ดูก่อน

เลือกจำนวนหลักของตัวนับ คือ การกำหนดให้ระบบมีเลขของงานว่าทั้งหมดกี่หลัก เริ่มจาก 2 หลัก และสูงสุดที่ 5 หลัก (ตัวอย่างผมจะเลือก 4 และให้สังเกตุ ตรงตัวอย่างจะเปลี่ยนแปลงตามที่เลือก)

  • 2 คือ มีเลขสองหลัก ตัวอย่าง 01,10,20,99
  • 3 คือ มีเลขสามหลัก ตัวอย่าง 001,110,520,999
  • 4 คือ มีเลขสี่หลัก ตัวอย่าง 0001,1110,3210,9999
  • 5 คือ มีเลขห้าหลัก ตัวอย่าง 00001,12340,23450,99999

และระบบยังสามารถให้ เลือกตามรูปแบบต่างๆที่ระบบมีเป็นพื้นฐาน ดังนี้

  • เติมรูปแบบวันที่ คือ กำหนดให้เลขที่ใบงานซ่อมมีการแสดงวันที่ เดือน ปี (ปี คศ)
  • เติมรูปแบบประเภท PM/AM คือ การเอาประเภทงานซ่อมบำรุงระหว่าง PM หรืองาน AM มาแสดงในเลขที่ใบงาน PM/AM
  • เติมรหัสสถานที่ คือ การเอารหัสของสถานที่ตั้งของเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ทำการแจ้งซ่อมมาแสดงในเลขที่ใบงาน PM/AM  (***สามารถกำหนดค่าได้ในเมนู ตั้งค่า > สถานที่ตั้งเครื่อจักร / อุปกรณ์ หากเติมรหัสสถานที่ ทุกสถานที่จะต้องมีรหัส)
  • เติมรหัสสถานที่ย่อย คือ การเอารหัสของสถานที่ตั้งย่อยของเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ทำการแจ้งซ่อมมาแสดงในเลขที่ใบงาน PM/AM (***สามารถกำหนดค่าได้ในเมนู ตั้งค่า > สถานที่ตั้งเครื่อจักร / อุปกรณ์ หากเติมรหัสสถานที่ย่อย ทุกสถานที่ย่อยจะต้องมีรหัส)

เมื่อทำการเลือกทุกอย่าง เสร็จแล้ว ให้กด บันทึก จะขอยกตัวอย่าง จะเติมรูปแบบวันที่ และ เติมรูปแบบประเภท PM/AM

กำหนดเลขที่เอกสารควบคุม

ในระบบสามารถใส่เลขที่เอกสารที่ทางผู้ใช้งานได้ขึ้นทะเบียนเลขที่เอกสารต่างๆ เพื่อให้รองรับระบบมาตราฐานหรือการควบคุมคุณภาพต่าง หรืองานระบบ ISO วึ่งเรายังอยู่ในเมนู ตั้งค่า > การพิมพ์ / รูปแบบ

หากผู้ใช้งานต้องการใส่เอกสารที่ขึ้นทะเบียนไว้ในระบบมาตราฐาน อย่างใบงานซ่อม ก็ให้นำเลขเอกสารกรอกที่ช่อง ใบงานซ่อม และกดบันทึก

หากผู้ใช้งานต้องการใส่เลขเอกสารที่ขึ้นทะเบียนไว้ในระบบมาตราฐาน อย่างใบงาน PM ก็ให้นำเลขเอกสารกรอกที่ช่อง ใบงาน PM และกดบันทึก

หากผู้ใช้งานต้องการใส่เอกสารที่ขึ้นทะเบียนไว้ในระบบมาตราฐาน อย่างใบงาน AM ก็ให้นำเลขเอกสารกรอกที่ช่อง ใบงาน AM และกดบันทึก

12.4 ตั้งค่าสิทธิ์การใช้งาน

เป็นการกำหนดให้แต่ละระดับของกลุ่ม User สามารถเข้าถึงข้อมูลในส่วนไหนได้บ้างของโปรแกรม เพื่อลดความยุ่งยากและให้สะดวกต่อผู้ใช้งาน และเป็นการป้องกันให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในงานนั้นเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ต้องการได้ ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > สิทธิ์การใช้งาน

เมื่อคลิกเข้ามาที่ สิทธิ์การใช้งาน ระบบจะทำการเปิดหน้า ตั้งค่าสิทธิ์การใช้งาน

ในส่วนของหัวข้อย้อยในสิทธิ์การใช้งาน ที่อยู่บ้านบนสุด จะเป็น การบังคับแนบรูปภาพแจ้งซ่อม จะขออธิบายข้อความต่างๆ ดังนี้

  • ก่อนแจ้งซ่อม คือ ผู้ที่จะแจ้งซ่อมต้องแนบรูปภาพเข้ามาด้วยในตอนที่แจ้งซ่อมถึงจะแจ้งซ่อมได้
  • หลังแจ้งซ่อม คือ ช่างที่จะปิดงานต้องแนบรูปภาพเข้ามาด้วยถึงจะปิดงานซ่อมได้

ซึ่งสามารถปรับเลือกได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน

ระบบได้มีการตั้งค่าเบื้องต้น หรือที่เรียกว่า Defult ของการตั้งค่าสิทธิ์การใช้งานออกเป็น 5 กลุ่ม ซึ่งแต่ละสิทธิ์การใช้งาน จะแต่งต่างกันไปตามการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูล ดังนี้

  • Staff
  • AM User
  • Admin
  • Manager

แต่ถ้าหากผู้ใช้งานมีความต้องการที่จะสร้าง หรือกำหนดสิทธิ์การใช้งานขึ้นมาให้ ก็สามารถทำได้ โดยคลิกที่ปุ่ม เพิ่มสิทธิ์ใหม่

เมื่อคลิกที่ปุ่ม เพิ่มสิทธิ์ใหม่ แล้วระบบจะเปิดหน้าของ Create new permission เพื่อให้ผู้ใช้งานตั้งชื่อสิทธิ์การใช้งานใหม่

โดยผู้ใช้งาน สามาถพิมพ์ชื่อสิทธิ์ที่ต้องการจะสร้างใหม่ในช่อง Permission Name: ตัวอย่างคือ Leader Engineer เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วก็ให้กดที่ บันทึก

ระบบจะแบ่งการเข้าถึงข้อมูลออกเป็น 5 หัวข้อหลักคือ ทั่วไป งานซ่อม งานซ่อมบำรุง อื่นๆ สอบเทียบ โดยจะขออธิบายตามหัวข้อหลักๆ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยต่อจากการตั้งชื่อสิทธิ์ เมื่อสักครู่นี้คือ Leader Engineer มาเริ่มที่หัวข้อที่ 1 ทั่วไป จะประกอบด้วยเมนูย่อยๆ ดังนี้

  • Reset ค่าการใช้งานเครื่องจักร คือ ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ในการ Rest ค่าชั่วโมงการใช้งานหรือระยะทางการใช้งานของเครื่องจักรได้
  • แก้ไข ค่าการใช้งานเครื่องจักร คือ ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ในการใส่ค่าชั่วโมงการใช้งานหรือระยะทางการใช้งานของเครื่องจักรได้
  • ดูรายการอุปกรณ์ คือ ให้ผู้ที่จะใช้งานมีสิทธิ์ให้หน้ารายชื่อเครื่องจักร / อุปกรณ์ได้
  • ดูรายการอุปกรณ์เฉพาะของแผนกตัวเอง (จะต้องเลือก”ดูรายการอุปกรณ์”ก่อนเท่านั้น) คือ การดูรายการเครื่องจักร / อุปกรณ์เฉพาะแผนกที่ตนเองเลือกไว้
  • เพิ่มอุปกรณ์ใหม่และแก้ไขข้อมูล คือ ให้ผู้ใช้งานสามารถทำการลงทะเบียนหรือเพิ่มรายการเครื่องจักร / อุปกรณ์ได้ (ซึ่งอธิบายไว้ใน การลงทะเบียนเครื่องจักร หน้าที่ 139)
  • ยกเลิกอุปกรณ์ได้ คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการยกเลิกรายการเครื่องจักร / อุปกรณ์ได้
  • อัพโหลดคู่มืออุปกรณ์ คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการอัพโหลดคู่มือประจำเครื่องจักร / อุปกรณ์ได้      (ซึ่งอธิบายไว้ใน ไฟล์คู่มือคู่มือ หน้าที่ 154)

เรายังอยู่ในส่วนของการตั้งค่าสิทธิ์ Leader Engineer โดยจะมาต่อในหัวข้อที่ 2 คือ งานซ่อม ประกอบด้วยเมนูย่อยๆ ดังนี้ ซึ่งผู้ใช้งานก็สามารถ คลิกเลือกได้ตามความต้องการ

  • แก้ไขใบงานซ่อมส่วนการปิดงาน คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์กลับไปแก้ไขใบงานซ่อมที่ปิดงานซ่อมไปแล้ว
  • ดูประวัติการซ่อม คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ดูประวัติงานซ่อม ในเมนู Repair : ประวัติงานซ่อม                 (ซึ่งอธิบายไว้ใน  Repair : ประวัติงานซ่อม หน้าที่ 78) 
  • ประเมินผลงานซ่อม คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการประเมินงานซ่อมที่เกิดขึ้นหลังจากที่ช่างปิดงาน
  • ประเมินผลงานซ่อม ที่เกิดจากผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นคนแจ้งได้ คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการประเมินงานซ่อมแทนผู้แจ้งซ่อม (จะต้องสร้างแผนผังองค์กรก่อน เพื่อให้ระบบทราบว่าหัวหน้ามีลูกทีมคนไหนบ้าง)
  • มอบหมายงานซ่อมได้ คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการมอบหมายงานซ่อมที่เกิดขึ้นไปยังลูกทีมได้
  • มอบหมายงานซ่อมได้ 1. ได้รับข้อความเมื่อช่างรับงานแล้ว คือ ให้ผู้ใช้งานที่มอบหมายงานซ่อม ได้รับข้อความเมื่อช่างกดรับงานซ่อมแล้ว
  • มอบหมายงานซ่อมได้ 2. ได้รับข้อความเมื่อต้องรอจัดซื้ออะไหล่ คือ ให้ผู้ใช้งานที่มอบหมายงานซ่อม ได้รับข้อความเมื่อมีช่างที่มอบหมายงานไปกดเบิกอะไหล่แล้วอะไหล่จากฝั่งสโตร์แล้วอะไหล่ไม่พอต้องรอจัดซื้อ
  • มอบหมายงานซ่อมได้ 3. ได้รับข้อความเมื่อช่างได้รับอะไหล่แล้ว คือ ให้ผู้ใช่งานที่มอบหมายงานซ่อมได้รับข้อความเมื่อช่างได้กดรับอะไหล่ หลังจากที่สโตร์กดอนุมัติอะไหล่แล้ว
  • มอบหมายงานซ่อมได้ 4. ได้รับข้อความเมื่อช่างซ่อมเสร็จ คือ ให้ผู้ใช่งานที่มอบหมายงานซ่อมได้รับข้อความเมื่อช่างกดปิดงานซ่อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว

(ส่วนมากแล้วในหัวข้อมอบหมายงานซ่อมจะเป็นในส่วนหัวหน้าช่าง)

เรายังอยู่ในส่วนของการตั้งค่าสิทธิ์ Leader Engineer โดยจะมาต่อในหัวข้อที่ 3 คือ งานซ่อมบำรุง ประกอบด้วยเมนูย่อยๆ ดังนี้ ซึ่งผู้ใช้งานก็สามารถ คลิกเลือกได้ตามความต้องการ

  • แก้ไขเช็คชีท / แผน PM/AM เฉพาะแผนกของตนเอง คือ ในกรณีที่กำหนดแผนกที่ตอนสร้างเช็คชีทไว้ ก็จะสามารถแก้ไขใบเช็คชีทได้เฉพาะแผนกที่ตรงกับของ User เท่านั้น
  • เข้าดูเช็คลิสต์ผ่านทางโทรศัพท์ (AM) คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์เข้าไปดูรายการเช็คชีทของงาน AM ที่อยู่บนแอพพลิเคชั่นในมือถือได้
  • เข้าดูเช็คลิสต์ผ่านทางโทรศัพท์ (PM) คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์เข้าไปดูรายการเช็คชีทของงาน PM ที่อยู่บนแอพพลิเคชั่นในมือถือได้
  • แจ้งเตือนค่าวัดตามแผนกเช็คชีท คือ ในกรณีที่ค่าวัดไม่เป็นไปตามค่าที่กำหนดตอนสร้างเช็คชีท ระบบจะส่งข้อความมาเตือนตามแผนกที่กำหนดไว้
  • ดูปฏิทินการซ่อมบำรุง คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์เข้าไปดูเมนู ปฏิทินแบบเก่า และปฏิทินแบบใหม่                                                (ซึ่งอธิบายไว้ในหัวข้อ ปฏิทินเก่า หน้าที่ 66)
  • ดูประวัติการซ่อมบำรุง คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์เข้าไปดูเมนู PM : ประวัติงานได้
  • ได้รับข้อความ กรณี AM/PM ไม่ผ่าน คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ได้รับข้อความเมื่อมีคนเข้าไปทำงาน AM/PM แล้วคลิกเลือกไม่ผ่านหลังจากที่ช่างบันทึกใบงานซ่อมบำรุงแล้วระบบจะส่งข้อความให้
  • ได้รับข้อความ กรณีค่าวัดไม่เป็นไปตามมาตรฐาน คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ได้รับข้อความในกรณีที่ช่างระบุค่าที่วัดได้มาและมันไม่ผ่านตามมาตราฐานที่ระบบุไว้ *** ต้องระบุค่ามาตราฐานในหน้าสร้างเช็คชีทก่อน (ซึ่งอธิบายไว้ใน สร้างเช็คชีท หน้าที่ 45)
  • บันทึกผลงานซ่อมบำรุงจากบนโทรศัพท์ (AM) คือ ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้งานสามารถกดบันทึกใบเฉพาะงานประเภท AM ที่อยู่บนแอพพลิเคชั่นในมือถือได้
  • บันทึกผลงานซ่อมบำรุงจากบนโทรศัพท์ (PM) คือ ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้งานสามารถกดบันทึกใบเฉพาะงานประเภท PM ที่อยู่บนแอพพลิเคชั่นในมือถือได้
  • ประเมินผล PM/AM (กรุณาติดต่อทีมงานเพื่อเปิดใช้งาน) คือ ให้ผู้ที่มิสิทธิ์ใช้งานสามารถทำการประเมินผลงาน PM/AM ที่ทางช่างได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว *** ต้องแจ้งให้ทางทีม Customer Support Factorium เปิดการใช้งานฟังก์ชั่นส่วนนี้จากระบบควบคู่กันด้วย และฟังก์ชั่นนี้ขอสงวนสิทธิ์สำหรับลูค้า Premium เท่านั้น
  • มอบหมายงาน PM/AM คือ ให้ผู้มีสิทธิ์ใช้งานสามารถทำการมอบหมายงาน PM ที่อยู่บนแอพพลิเคชั่นในมือถือได้ที่เมนู มอบหมายงาน : งาน PM
  • ลบประวัติงานซ่อมบำรุงและเช็คชีท คือ ให้ผู้มีสิทธิ์ใช้งานสามารถทำการลบประวัติงานซ่อมบำรุง PM/AM และลบใบรายการเช็คชีทได้
  • เลื่อนแผน PM/AM คือ ให้ผู้มีสิทธิ์ใช้งานสามารถทำการเลื่อนวันเข้าทำงานซ่อมบำรุง PM/AM ได้   (ซึ่งอธิบายไว้ใน เลื่อนแผน PM/AM หน้าที่ 62)
  • วางแผนงานซ่อมบำรุง คือ ให้ผู้มีสิทธิ์ใช้งานสามารถเข้าไปยังเมนู PM : วางแผน เพื่อทำการสร้างเช็คชีทและสร้างแผนงาน PM/AM ได้
  • แสดงใบงานประเมินเฉพาะแผนก คือ ให้ผู้มีสิทธิ์ใช้งานสามารถประเมินผลงาน PM/AM ที่ตรงตามแผนกของตนเองและแผนกของเช็คชีท ***ต้องเปิดใช้งานประเมินผล PM/AM ก่อนและฟังก์ชั่นนี้ขอสงวนสิทธิ์สำหรับลูค้า Premium เท่านั้น

เรายังอยู่ในส่วนของการตั้งค่าสิทธิ์ Leader Engineer โดยจะมาต่อในหัวข้อที่ 4 คือ อื่นๆ ประกอบด้วยเมนูย่อยๆ ดังนี้ ซึ่งผู้ใช้งานก็สามารถ คลิกเลือกได้ตามความต้องการ

  • เข้าเมนู “ตั้งค่า” ได้ คือ ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้งานสามารถเข้าถึงเมนูตั้งค่าได้ *** หน้านี้ควรจะเป็นผู้ดูแลระบบหรือหัวหน้าเท่านั้นที่เข้าถึงได้ เพราะรวมการตั้งค่าระบบทั้งหมด
  • จัดการรายการอะไหล่, ประวัติเบิกอะไหล่, คืนอะไหล่ คือ ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้งานสามารถเข้าถึงเมนู ประวัติการเบิกอะไหล่สารเคมีได้ (ซึ่งอธิบายไว้ใน ประวัติการเบิกอะไหล่ / สารเคมี หน้าที่ 110)
  • จัดการรายชื่อซัพพลายเออร์ คือ ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้งานสามารถเข้าถึงเมนู รายชื่อซัพพลายเออร์         (ซึ่งอธิบายไว้ใน รายชื่อซัพพลายเออร์ หน้าที่ 156)
  • จัดการรายชื่อผู้ใช้งาน คือ ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้งานสามารถเข้าถึงเมนู รายชื่อผู้ใช้งาน *** หน้านี้ควรจะเป็นผู้ดูแลระบบหรือหัวหน้าเท่านั้นที่เข้าถึงได้ เพราะสามารถเข้าไปปรับสิทธิ์ของแต่ละคนและ Reset Password ได้  (ซึ่งอธิบายไว้ใน รายชื่อผู้ใช้งาน หน้าที่ 154)
  • ดูสรุปงานรายวันได้ คือ ให้ผู้มีสิทธิ์ใช้งานสามารถดูสรุปงานค้างที่เมนู งานคงค้าง ที่อยู่บนแอพพลิเคชั่น Factorium ในมือถือได้
  • ได้รับข้อความเมื่อมีการเบิกอะไหล่/สารเคมี คือ ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้งานได้รับข้อความเมื่อมีการเบิกอะไหล่ / สารเคมี
  • เบิกอะไหล่ตรง คือ ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้งานสามารถเข้าถึงการเบิกอะไหล่ได้โดยที่ไม่ต้องเบิกจากงานซ่อม และงาน PM/AM ซึ่งอยู่ที่เมนู เบิกอะไหล่ / สารเคมี ที่อยู่บนแอพพลิเคชั่น Factoriumในมือถือได้
  • อนุมัติเบิกอะไหล่ (Store) คือ ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้งานสามารถทำการอนุมัติการเบิกอะไหล่จากทางฝั่งของสโตร์ได้  และผู้อนุมัติลำดับที่ 2 สามาถมาตั้งได้ที่เมนูนี้ หลังจากที่ทาง ผู้ที่มีสิทธิ์อนุมัติเบิกอะไหล่ (วิศวกรรม) ได้ทำการอนุมัติมาแล้ว
  • อนุมัติเบิกอะไหล่ (วิศวกรรม) คือ ให้ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้งานสามารถทำการตรวจสอบรายการอะไหล่ที่ขอเบิกและ อนุมัติการเบิกอะไหล่จากทางฝั่งหัวหน้างานซ่อม ผู้อนุมัติลำดับที่ 1 คือหัวหน้าที่มอบหมายงานซ่อม

เรายังอยู่ในส่วนของการตั้งค่าสิทธิ์ Leader Engineer โดยจะมาต่อในหัวข้อที่ 5 คือ งานสอบเทียบ ประกอบด้วยเมนูย่อยๆ ดังนี้

  • ดูค่าบริการสอบเทียบ คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการเห็นค่าบริการสอบเทียบ
  • ดูปฏิทินการสอบเทียบ คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการดูปฏิทินงานสอบเทียบได้ 
  • เพิ่มประวัติการสอบเทียบได้ คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการเข้าไปเพิ่มหรือแก้ไขประวัติการสอบเทียบ
  • เมนู: PO งานสอบเทียบ คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการใช้งานเมนู PO งานสอบเทียบ
  • เมนู : งานสอบเทียบของฉัน คือ จะแสดงบนแอพพลิเคชั่น Factorium ในมือถือ เท่านั้น หากผู้ใช้งานมีการใช้งานระบบสอบเทียบภายใน และใช้ในกรณีที่เป็นผู้ที่ต้องเข้าไปสอบเทียบเครื่องมือต่างๆ
  • เมนู : ติดตามงานสอบเทียบ คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการใช้งานเมนู ติดตามงานสอบเทียบ
  • เมนู : รีวิวผลการสอบเทียบ คือ จะแสดงบนแอพพลิเคชั่น Factorium ในมือถือ เท่านั้น หากผู้ใช้งานมีการใช้งานระบบสอบเทียบภายใน และใช้ในกรณีที่เป็นผู้ที่ต้องตรวจทานผลการสอบเทียบเครื่องมือต่างๆ
  • รับอีเมล์แจ้งเตือนการสอบเทียบ คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการรับอีเมล์เมื่อถึงกำหนดการแจ้งเตือนเมื่อถึงรอบการสอบเทียบ
  • รับอีเมล์แจ้งเตือนไฟนอลคอล (7 วันล่วงหน้า) คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการรับอีเมล์เมื่อถึงกำหนดการแจ้งเตือนเมื่อถึงรอบการสอบเทียบเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งจะได้รับอีเมลอีก 7 วันก่อนถึงกำหนด
  • สามารถกำหนดจุดสอบเทียบได้ คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์ในการกำหนดจุดสอบเทียบและเพิ่มหรือลบจุดการสอบเทียบของอุปกรณ์
  • สามารถเลื่อนแผนการสอบเทียบในปฏิทินสอบเทียบได้ คือ ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์จัดการเลื่อนแผนการสอบเทียบของเครื่องมือต่างๆได้

จากทั้งหมด ในการกำหนด สิทธ์การใช้งาน ทั้งหมด 5 หัวข้อหลัก ซึ่งให้แล้วทำการคลิกเลือกหมดเรียบร้อยแล้ว ตามความเหมาะสมของผู้ใช้งานเอง แต่ที่สำคัญที่สุดคือเราต้องไปกด บนทึก เพื่อบันทึกผลการตั้งค่าสิทธิ์การใช้งานที่เราได้เลือกไว้ทั้งหมด โดยทำการเลือนเมนูบาร์กลับไปด้านบนของเมนู ตั้งค่าสิทธิ์การใช้งาน และคลิกที่ บันทึกเป็นิันเสร็จขั้นตอนการตั้งค่าสิทธิ์การใช้งาน จากตัวอย่าง การตั้งค่าสิทธิ์ Leader Engineer

12.5 ตั้งค่าสิทธิ์การใช้งานซ่อมตามสถานที่

เป็นการตั้งค่าที่เกี่ยวข้องกับการรับงานซ่อมของทางทีมช่างและหัวหน้าที่มอบหมายงานซ่อม โดยดึงเอาสถานที่ตั้งของเครื่องจักรที่เราลงทะเบียนไว้มากำหนดเป็นกุล่มๆได้ เพื่อให้สะดวกในการรบและมอบหมายงานซ่อม ลดปัญหาในกรณีที่ช่างและหัวหน้าช่างมีกรแบ่งโซนบริเวณงานซ่อมที่ชัดเจน หากมีการเปิดงานซ่อมตามโซนสถานที่ ที่เราได้ตั้งค่าเอาไว้ให้ใครรับผิดชอบ งานซ่อมก็จะวิ่งไปหาผู้รับผิดชอบตามที่กำหนดไว้ ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > สิทธิ์การใช้งานตามสถานที่

เมื่อคลิกเข้ามาที่ สิทธิ์การใช้งานตามสถานที่ ระบบจะทำการเปิดหน้า ตั้งค่าสิทธิ์การใช้งานตามสถานที่

ให้คลิกที่ เพิ่มกลุ่มของสถานที่ เพื่อกำหนดกลุ่มของสถานที่ ที่รับผิดชอบงานซ่อม

 

 

 

เมื่อคลิกที่ เพิ่มกลุ่มของสถานที่ แล้วระบบจะทำการเปิดหน้า เพิ่มกลุ่มของสถานที่ขึ้นมา

ให้ผู้ใช้งานตั้งชื่อ โซนที่รับผิดชอบ ได้เลยตามต้องการ จากนั้นกดบันทึก

และเมื่อคลิกที่ปุ่ม บันทึก แล้วระบบจะทำการบันทึกข้อมูล ชื่อโซนที่เราได้ตั้งชื่อไว้ และแสดงชื่อโซนดังกล่าว ให้คลิกไปที่ ชื่อโซนที่เราตั้งขึ้นเมื่อสักครู่นี้

เมื่อคลิกมาที่ชื่อโซนที่เราตั้งชื่อไว้ ระบบจะทำการเปิดหน้า ตั้งค่าสิทธการใช้งานตามสถานที่ ขึ้นมา

จากนั้นให้คลิกที่ + ตรงหัวข้อ สถานที่จั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์ เพื่อเลือกสถานที่ตั้งของเครื่องจักร / อุปกรณ์เข้ามายังโซนงานซ่อมที่เราสร้างขึ้น

เมื่อทำการคลิกที่ + ตรงหัวข้อ สถานที่จั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์ แล้วระบบจะทำการ เปิดหน้า สถานที่ตั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์ขึ้นมา เพื่อให้เราคลิกเลือกสถานที่ตั้งของของเครื่องจักร / อุปกรณ์เข้ามายังโซนงานซ่อมที่เราสร้างขึ้น (เลือกได้มากกว่า 1 รายการ) เมื่อเลือกได้ครบแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก

 

 

 

 

 

 

และเมื่อคลิกที่ปุ่ม บันทึก แล้วระบบจะทำการบันทึกข้อมูล ที่ได้เลือกสถานที่ตั้งของเครื่องจักร / อุปกรณ์เข้ามา และแสดงชื่อชื่อสถานที่ตั้ง

จากนั้นให้คลิกที่ + ตรงหัวข้อผู้มีสิทธิ์รับงานซ่อม เพื่อกำหนดช่างและทีมงานที่รับผิดชอบงานซ่อมในโซนที่เราได้กำหนดขึ้น

 

 

 

 

 

เมื่อทำการคลิกที่ + ตรงหัวข้อผู้มีสิทธิ์รับงานซ่อม แล้วระบบจะทำการ เปิดหน้า แปิดหน้า แก้ไขผู้มีสิทธิ์รับงานซ่อม เพื่อให้คลิกเลือกช่างและทีมงานที่รับผิดชอบงานซ่อมในโซนงานซ่อมที่เราสร้างขึ้น (เลือกได้มากกว่า 1 รายการ) เมื่อเลือกได้ครบแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก

ในส่วนของเมนู รวมถึงเครื่องจักร / อุปกรณ์เหล่านี้ด้วย นั้นเป็นการรวมเอาเครื่องจักรเป็นรายเครื่องเข้ามาในสถานที่รับผิดชอบนี้ เพราะบางทีเครื่องจักร / อุปกรณ์ตัวนี้อาจจะอยู่ในสถานที่รับผิดชอบของผู้อื่น ซึ่งเราไม่ได้รับผิดชอบทั้งสถานที่นั้นเพียงแต่เรารับผิดชอบแค่เครื่องนี้เท่านั้น หากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในเมนู รวมถึงเครื่องจักร / อุปกรณ์เหล่านี้ด้วย ไม่ต้องมาคลิกเลือก คลิกที่ + ตรงหัวข้อ รวมถึงเครื่องจักร / อุปกรณ์เหล่านี้ด้วย เพื่อกำหนดเครื่องจักรเข้ามายังโซนรับผิดชอบงานซ่อมในโซนที่เราได้กำหนดขึ้น

เมื่อทำการคลิกที่ + ตรงหัวข้อ รวมถึงเครื่องจักร / อุปกรณ์เหล่านี้ด้วย แล้วระบบจะทำการ เปิดหน้า เลือกประเภทเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่จะนำเข้ามายังในโซนงานซ่อมที่เราสร้างขึ้น โดยทำการเลือกได้ทีละประเภท

 

 

เมื่อคลิกเลือก ประเภทของเครื่องจักร / อุปกรณ์ เสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม Next

เมื่อคลิกที่ Next แล้วระบบจะเปิดหน้า เลือกรายการที่ต้องการ ให้เราเลือกเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ต้องการเข้ามายังโซนรับชอบ(เลือกได้มากกว่า 1 รายการ) คลิกเลือกเครื่องจักร / อุปกรณ์เข้าโซนงานซ่อมที่เราสร้างขึ้น เสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม บันทึก

และเมื่อคลิกที่ปุ่ม บันทึก แล้วระบบจะทำการบันทึกข้อมูล ที่ได้เลือกเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่รับผิดชอบเข้ามา และแสดงรายการเครื่องจักร / อุปกรณ์ที่รวมถึงเครื่องจักร / อุปกรณ์เหล่านี้ด้วย เข้ามาในโซนรับผิดชอบ

 

 

 

 

 

ในส่วนของเมนู ไม่รวมถึงเครื่องจักร / อุปกรณ์เหล่านี้ นั้นมันเป็นตรงกันข้ามกับ Include คือ เป็นการเอาเครื่องจักรเป็นรายเครื่องออกจากสถานที่รับผิดชอบนี้ เพราะบางทีเครื่องจักร / อุปกรณ์ตัวนี้อาจจะอยู่ในสถานที่รับผิดชอบของเรา ซึ่งเราไม่ได้รับผิดชอบเครื่องจักร / อุปกรณ์นั้นๆนั้นเพียงแต่เรารับผิดชอบในสถานที่นี้อยู่เท่านั้น หากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในเมนู + ตรงหัวข้อ ไม่รวมถึงเครื่องจักร / อุปกรณ์เหล่านี้ด้วย ไม่ต้องมาคลิกเลือก คลิกที่  คลิกที่ + ตรงหัวข้อ ไม่รวมถึงเครื่องจักร / อุปกรณ์เหล่านี้ เพื่อกำหนดเครื่องจักรออกจากโซนรับผิดชอบงานซ่อมในโซนที่เราได้กำหนดขึ้น

เมื่อทำการคลิกที่ ไม่รวมถึงเครื่องจักร / อุปกรณ์เหล่านี้ แล้วระบบจะทำการ เปิดหน้า เลือกประเภทเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ต้องการจะนำออกจากสถานที่รับผิดชอบงานซ่อมที่เราสร้างขึ้น โดยทำการเลือกได้ทีละประเภท

เมื่อคลิกเลือก ประเภทของเครื่องจักร / อุปกรณ์ เสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม Next

 

 

 

 

เมื่อคลิกที่ Next แล้วระบบจะเปิดหน้า เลือกรายการที่ต้องการ ให้เราเลือกเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ต้องการเอาออกจากยังโซนรับชอบ (เลือกได้มากกว่า 1 รายการ) เสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม บันทึก

และเมื่อคลิกที่ปุ่ม บันทึก แล้วระบบจะทำการบันทึกข้อมูล ที่ได้เลือกเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่รับผิดชอบเข้ามา และแสดงรายการเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ ไม่รวมถึงเครื่องจักร / อุปกรณ์เหล่านี้ออกจากโซนรับผิดชอบ

ในส่วนของเมนู คลังอะไหล่ที่เข้าถึงได้ เป็นการระบุว่าโซนงานซ่อมนี้สามารถเข้าถึงคลังอะไหล่ในส่วนไหนได้บ้าง  *** ในกรณีที่มีคลังอะไหล่หลายที่ และต้องกำหนดสถานที่เก็บอะไหล่ก่อนด้วย แต่ถ้ามีคลังอะไหล่ที่เดียว ก็ไม่ต้องมาตั้งค่าในส่วนของเมนู คลังอะไหล่ที่เข้าถึงได้ หากต้องการกำหนดการเข้าถึงคลังอะไหล่ ก็ให้คลิก + ที่หัวข้อ คลังอะไหล่ที่เข้าถึงได้

เมื่อทำการคลิกที่ + ตรงหัวข้อ คลังอะไหล่ที่เข้าถึงได้ แล้วระบบจะทำการ เปิดหน้า คลังอะไหล่ที่เข้าถึงได้ เพื่อแสดงจำนวนคลังอะไหล่ที่มีอยู่ในระบบ ให้คลิกเลือกคลังอะไหล่ที่ต้องการให้โซนงานซ่อมนี้เข้าถึงการเบิกอะไหล่ได้ (เลือกได้มากกว่า 1 รายการ) เมื่อเลือกได้แล้ว จากนั้นคลิกที่บันทึก

เมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และแสดงหน้าต่าง แก้ไขคลังอะไหล่ Success ให้คลิกปิด

ในส่วนของเมนู ฝ่ายวิศวกรรมที่อนุมัติการเบิกอะไหล่  เป็นการกำหนดว่าหากมีการเบิกอะไหล่ในโซนงานซ่อมนี้ จะให้ใครเป็นผู้ตรวจทานรายการเบิก หรือผู้อนุมัติการเบิกลำดับที่ 1 ก่อน โดยให้คลิกไปที่ + ตรงหัวข้อ ฝ่ายวิศวกรรมที่อนุมัติการเบิกอะไหล่ (ต้องมีสิทธิ์ในการอนุมัติอะไหล่ อนุมัติเบิกอะไหล่ (วิศวกรรม) หน้าที่ 182)

เมื่อทำการคลิกที่ + ตรงหัวข้อ ฝ่ายวิศวกรรมที่อนุมัติการเบิกอะไหล่ แล้วระบบจะทำการ เปิดหน้า ฝ่ายวิศวกรรมที่อนุมัติการเบิกอะไหล่ เพื่อให้เลือกรายชื่อหัวหน้าที่จะให้ทำการอนุมัติการเบิกอะไหล่ ในโซนงานซ่อมนี้ (เลือกได้มากกว่า 1 รายการ)  เมื่อเลือกได้แล้ว จากนั้นคลิกที่บันทึก

เมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และแสดงหน้าต่าง แก้ไขฝ่ายวิศวกรรมที่อนุมัติการเบิกอะไหล่ Success ให้คลิกปิด

ในส่วนของเมนู ฝ่ายคลังที่อนุมัติการเบิกอะไหล่  เป็นการกำหนดว่าหากมีการเบิกอะไหล่ในโซนงานซ่อมนี้ จะให้ใครเป็นผู้ตรวจทานรายการเบิก หรือผู้อนุมัติการเบิกลำดับที่ 1 ก่อน โดยให้คลิกไปที่ + ตรงหัวข้อ ฝ่ายคลังที่อนุมัติการเบิกอะไหล่ (ต้องมีสิทธิ์ในการอนุมัติอะไหล่ อนุมัติเบิกอะไหล่ (Store) หน้าที่ 182)

 

 

เมื่อทำการคลิกที่ + ตรงหัวข้อ ฝ่ายคลังที่อนุมัติการเบิกอะไหล่ แล้วระบบจะทำการ เปิดหน้า ฝ่ายคลังทีีอนุมัติการเบิกอะไหล่ เพื่อให้เลือกรายชื่อเจ้าหน้าที่คลังที่จะให้ทำการอนุมัติการเบิกอะไหล่ ในโซนงานซ่อมนี้  (เลือกได้มากกว่า 1 รายการ)  เมื่อเลือกได้แล้ว จากนั้นคลิกที่บันทึก

เมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และแสดงหน้าต่าง แก้ไขฝ่ายคลังที่อนุมัติการเบิกอะไหล่ Success ให้คลิกปิด

12.6 ตั้งค่าการแสดงผล

เป็นการกำหนดให้หน้าของเมนู รายชื่อเครื่องจักร / อุปกรณ์ ว่าจะให้แสดงข้อมูลอะไรบ้าง ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > การแสดงผล

 

เมื่อคลิกเข้ามาที่ การแสดงผล ระบบจะทำการเปิดหน้า ให้เรากำหนดการแสดงผลของหน้ารายการเครื่องจักร / อุปกรณ์ ว่าจะให้แสดงเมนูย่อยอะไรบ้าง

ผู้ใช้งานสามารถเลือก จากในลิตส์ที่มีอยู่

 

 

 

 

 

 

และเมื่อทำการเลือกรายการ เพื่อกำหนดการแสดงผลต่างๆ ครบ แล้วให้คลิกที่ บันทึก

เมื่อคลิกที่ บันทึกแล้ว ระบบจะทำการเปิดหน้า Please confirm save data ให้คลิกที่ บันทึก เพื่อยืนยันการบันทึกข้อมูล

คลิกที่ บันทึก เพื่อยืนยันการบันทึกข้อมูล ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และเปิดหน้า Save data Sucessful

 

 

 

 

หลังจากที่ตั้งค่า การแสดงผล เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ตรวจสอบดูว่า สิ่งที่ตั้งค่าไปนั้นถูกต้องตามที่เราตั้งค่าไปหรือเปล่า โดยไปที่เมนู รายชื่อเครื่องจักร / อุปกรณ์

12.7 ตั้งค่าแผนก

เป็นการเป็นเพิ่มหรือตั้งค่าระบุแผนกของเครื่องจักร / อุปกรณ์ และการระบุแผนกของผู้ใช้งาน หลักๆแล้ว โดยจะมีผลต่อการลงทะเบียนเครื่องจักร / อุปกรณ์ และการกำหนดแผนกของผู้ใช้งาน ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > แผนก

เมื่อคลิกเข้ามาที่ แผนก ระบบจะทำการเปิดหน้า แสดงรายชื่อแผนกที่เราได้กำหนดไว้แล้ว หรือหากยังไม่กำหนดก็จะไม่พบข้อมูล ในการเพิ่มแผนกสามารถทำได้ โดยคลิกที่ เพิ่มแผนก

และเมื่อคลิกที่ เพิ่มแผนก แล้วระบบจะทำการเปิดหน้า เพิ่มแผนก ซึ่งจะมีช่องให้สำหรับกรอก ข้อมูลดังนี้

  • รหัสแผนก จะได้ในกรณีที่กำหนดเลขที่ใบงานซ่อมให้แสดงรหัสของแผนกด้วย อาจจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ (ซึ่งอธิบายไว้ใน การกำหนดรูปแบบใบแจ้งซ่อม หน้าที่ 170)
  • ชื่อแผนก ให้ระบุชื่อของแผนกที่ต้องการเพิ่มในระบบได้เลยตามต้องการ

ใส่ข้อมูล รหัสของแผนก ชื่อของแผนก ตามต้องการแล้วให้คลิกที่ บันทึก เพื่อ บันทึกข้อมูล

และเมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า แผนก อีกครั้ง

12.8 ตั้งค่า-สถานที่ตั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์

เป็นการเป็นเพิ่มหรือตั้งค่าระบุสถานที่ตั้งของเครื่องจักร / อุปกรณ์ เพื่อให้ทราบว่าเครื่องจักร / อุปกรณ์นี้ตั้งอยู่พื้นที่ใดในโรงงาน ให้สะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > สถานที่ตั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์ 

เมื่อคลิกเข้ามาที่ สถานที่ตั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์  ระบบจะทำการเปิดหน้า แสดงรายชื่อสถานที่ตั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่เราได้กำหนดไว้แล้ว หรือหากยังไม่กำหนดก็จะไม่พบข้อมูล ในการเพิ่มสถานที่ตั้งเคื่องจักร / อุปกรณ์สามารถทำได้ โดยคลิกที่ เพิ่มสถานที่ตั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์

 

 

 

 

 

 

เมื่อคลิกที่ เพิ่มสถานที่ตั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์ แล้วระบบจะทำการเปิดหน้า เพิ่มสถานที่ตั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์ ซึ่งจะมีช่องให้สำหรับกรอก ข้อมูลดังนี้

  • รหัสสถานที่ จะได้ในกรณีที่กำหนดเลขที่ใบงานซ่อมให้แสดงรหัสของสถานที่ด้วย อาจจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ (ซึ่งอธิบายไว้ใน การกำหนดรูปแบบใบแจ้งซ่อม หน้าที่ 167)
  • รหัสสถานที่ย่อย จะได้ในกรณีที่กำหนดเลขที่ใบงานซ่อมให้แสดงรหัสของของสถานที่ย่อยด้วย อาจจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ (ซึ่งอธิบายไว้ใน การกำหนดรูปแบบใบแจ้งซ่อม หน้าที่ 167)
  • ชื่อสถานที่  ให้ระบุชื่อของสถานที่ตั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ต้องการเพิ่มในระบบได้เลยตามต้องการ

และเมื่อใส่ข้อมูล รหัสของสถานที่  รหัสของสถานที่ย่อย ชื่อของสถานที่ ตามต้องการแล้วให้คลิกที่ บันทึก เพื่อ บันทึกข้อมูล

เมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า สถานที่ตั้งเครื่องจักร / อุปกรณ์ อีกครั้ง

12.9 ตั้งค่า-รหัสอาการเสีย

เป็นเพิ่มหรือตั้งค่าการระบุกลุ่มรหัสอาการเสีย เพื่อให้ช่างหรือวิศวกรที่รับงานซ่อมไป สามารถเลือกตอนปิดงานซ่อมได้ว่าอาการเสียดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มรหัสอาการเสียใด ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > รหัสอาการเสีย

เมื่อคลิกเข้ามาที่ รหัสอาการเสีย ระบบจะทำการเปิดหน้า คำเตือน ในการแก้ไขตั้งค่ารหัสอาการเสีย ระบบจะบันทึกเฉพาะแถวสีเขียวในหน้าที่เปิดอยู่เท่านั้น ให้คลิดที่ OK ระบบเปิดไปยังหน้า รหัสอาการเสีย

หากต้องการเพิ่มรหัสอาการเสียสามารถทำได้ โดยคลิกที่ เพิ่มรหัสอาการเสีย

 

 

 

 

เมื่อคลิกที่ เพิ่มรหัสอาการเสีย แล้วระบบจะทำการเปิดหน้า เพิ่มรหัสอาการเสีย ซึ่งจะมีช่องให้สำหรับกรอก ข้อมูลดังนี้

  • รหัส เป็นการตัวเลขหรืออักษรย่อของรหัสอาการเสีย
  • รายละเอียด(ไทย) คือการระบุรายละเอียดข้อความอาการเสียเป็นภาษาไทย
  • รายละเอียด(อังกฤษ) คือการระบุรายละเอียดข้อความอาการเสียเป็นภาษาอังกฤษ

และเมื่อใส่ข้อมูล รหัส  รายละเอียด (ไทย) รายละเอียด(อังกฤษ) ตามต้องการแล้วให้คลิกที่ บันทึก เพื่อ บันทึกข้อมูล

เมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า รหัสอาการเสีย อีกครั้ง

12.10 ตั้งค่า-รหัสซ่อม

เป็นเพิ่มหรือตั้งค่าการระบุกลุ่มรหัสซ่อม เพื่อให้ช่างหรือวิศวกรที่รับงานซ่อมไป สามารถเลือกตอนปิดงานซ่อมได้ว่าการซ่อมดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มรหัสซ่อมใด ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > รหัสซ่อม

เมื่อคลิกเข้ามาที่ รหัสซ่อม ระบบจะทำการเปิดหน้า คำเตือน ในการแก้ไขตั้งค่ารหัสเสีย ระบบจะบันทึกเฉพาะแถวสีเขียวในหน้าที่เปิดอยู่เท่านั้น ให้คลิดที่ OK ระบบเปิดไปยังหน้า รหัสซ่อม

หากต้องการเพิ่มรหัสซ่อมสามารถทำได้ โดยคลิกที่ เพิ่มรหัสซ่อม

เมื่อคลิกที่ เพิ่มรหัสซ่อม แล้วระบบจะทำการเปิดหน้า เพิ่มรหัสซ่อม ซึ่งจะมีช่องให้สำหรับกรอก ข้อมูลดังนี้

  • รหัส เป็นการตัวเลขหรืออักษรย่อของรหัสซ่อม
  • รายละเอียด(ไทย) คือการระบุรายละเอียดข้อความซ่อมเป็นภาษาไทย
  • รายละเอียด(อังกฤษ) คือการระบุรายละเอียดข้อความซ่อมเป็นภาษาอังกฤษ

และเมื่อใส่ข้อมูล รหัส  รายละเอียด (ไทย) รายละเอียด(อังกฤษ) ตามต้องการแล้วให้คลิกที่ บันทึก เพื่อบันทึกข้อมูล

เมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และขึ้นหน้าต่างข้อความว่า Success Saving Successful  ให้คลิกที่ OK

หลังจากคลิกที่ OK ระบบจะทำการเปิดมายังหน้า รหัสซ่อมอีกครั้ง

12.11 ตั้งค่า-ประเภทของงบประมาณ

เป็นเพิ่มหรือตั้งค่าการระบุประเภทของงบประมาณ เพื่อให้ทราบได้ว่ารายการเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ได้มานั้นได้มาด้วยประเภทของงบประมาณอะไร สามารถเลือกตอนลงทะเบียนเครื่องจักร / อุปกรณ์ หน้าที่ 139 ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > ประเภทของงบประมาณ

เมื่อคลิกเข้ามาที่ ประเภทของงบประมาณ ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า ประเภทของงบประมาณ

หากต้องการเพิ่มประเภทของงบประมาณสามารถทำได้ โดยคลิกที่ เพิ่มประเภทของงบประมาณ

 

 

 

 

เมื่อคลิกที่ เพิ่มประเภทของงบประมาณ แล้วระบบจะทำการเปิดหน้า เพิ่มประเภทของงบประมาณ ซึ่งจะมีช่องให้สำหรับกรอก ข้อมูลชื่อประเภทของงบประมาณ

เมื่อใส่ข้อมูล ข้อมูลชื่อประเภทของงบประมาณ ตามต้องการแล้วให้คลิกที่ บันทึก เพื่อบันทึกข้อมูล

เมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า ประเภทของงบประมาณ อีกครั้ง

12.12 ตั้งค่า-การแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์

เป็นการตรวจสอบว่าในระบบของเรามี User ใดบ้างที่ login เข้ามาในระบบและยังบอกด้วยว่าเป็นมือถือรุ่นหรือยี่ห้อใดบ้าง เพื่อแจ้งว่า User ดังกล่าวทำการ login และ Subscribe เข้ามาในระบบได้สมบูรณ์ ก็จะไม่พลาดเรื่องการรับข้อความ Notification ต่างๆ ที่ระบบส่งมาแจ้งเตือน ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > การแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์

เมื่อคลิกเข้ามาที่ การแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์ ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า การแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์

ในกรณีที่มีพนักงานลาออก เราไม่ต้องการให้พนักงานคนดังกล่าวที่ลาออกไปนั้น ได้รับข้อความหรือ Notification ที่ระบบแจ้งเตือนนั้น ให้กำการใส่ชื่อของเขาที่ช่องค้นหา

ระบบจะการแสดงข้อมูล รายชื่อ ตามที่เรากรอกขอ้มูลในช่องค้นหา จากนั้นให้คลิกที่ รูปถังขยะสีแดง

เมื่อคลิกที่ รูปถังขยะสีแดงแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก ที่อยู่ด้านบน

 

 

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะมีหน้าต่างแจ้งเตือน เปลี่ยนแปลงข้อมูล ยืนยันด้วยการกดปุ่มบันทึกอีกครั้ง ให้คลิกที่ บันทึก อีกครั้ง

เมื่อคลิกที่บันทึก อีกครั้งระบบจะมีหน้าต่างแจ้งเตือนว่า Delete Notification User Done Removed 1 Records ให้คลิกที่ ปิด

เมื่อคลิกที่ ปิด ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า การแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์ อีกครั้ง

12.13 ตั้งค่า-แผนผังองค์กร

เป็นการตั้งค่าการอนุมัติในงานซ่อมในกรณี่ที่ต้องมีหัวหน้าฝ่ายของผู้แจ้งซ่อมอนุมัติงานซ่อมก่อน การประเมินงานซ่อมแทนลูกน้อง การประเมินงานบำรุงรักษา PM/AM หลังจากที่ทำไปแล้ว อนุมัติการส่งซ่อมภายนอก เท่านั้น ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > แผนผังองค์กร

เมื่อคลิกเข้ามาที่ แผนผังองค์กร ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า แผนผังองค์กร

เริ่มต้นด้วยการสร้างประธาน คลิกไปที่ +เพิ่ม ประธาน 1

เมื่อคลิกที่ +เพิ่ม ประธาน 1 ระบบจะทำการเปิดหน้าต่าง เพิ่มผู้ใช้งานในแผนผังขึ้นมา

ให้พิมพ์รายชื่อผู้ใช้งานที่จะเป็นประธาน ในช่องระบุผู้ใช้งาน จากนั้นระบบจะแสดงรายชื่อตามที่เราพิมพ์ให้คลิกเลือก รายชื่อดังกล่าว

เมื่อเลือกชื่อประธานได้แล้ว ให้คลิกที่ บันทึก เพื่อบันทึกชื่อประธานเข้ามาในแผนผังองค์กร

เมื่อคลิก บันทึกแล้วระบบจะทำการบันทึกข้อมูลแบบชั่วคราว และกลับมายังหน้าแผนผังองค์กรอีกครั้ง

ถัดไปก็จะมาสร้าง รองประธานในระบบ ให้คลิกไปที่ +เพิ่ม รองประธาน

เมื่อคลิกที่ +เพิ่มรองประธาน ระบบจะทำการเปิดหน้าต่าง เพิ่มผู้ใช้งานในแผนผังขึ้นมา

ให้พิมพ์รายชื่อผู้ใช้งานที่จะเป็นรองประธาน ในช่องระบุผู้ใช้งาน จากนั้นระบบจะแสดงรายชื่อตามที่เราพิมพ์ให้คลิกเลือก รายชื่อดังกล่าว

เมื่อเลือกชื่อรองประธานได้แล้ว ให้คลิกที่ บันทึก เพื่อบันทึกชื่อรองประธานเข้ามาในแผนผังองค์กร

เมื่อคลิก บันทึกแล้วระบบจะทำการบันทึกข้อมูลแบบชั่วคราว และกลับมายังหน้าแผนผังองค์กรอีกครั้ง

ถัดไปก็จะมาสร้าง ผู้จัดการฝ่ายในระบบ ให้คลิกไปที่ +เพิ่ม ผจก.ฝ่าย

เมื่อคลิกที่ +เพิ่ม ผจก.ฝ่าย ระบบจะทำการเปิดหน้าต่าง เพิ่มผู้ใช้งานในแผนผังขึ้นมา

ให้พิมพ์รายชื่อผู้ใช้งานที่จะเป็นผู้จัดการฝ่าย ในช่องระบุผู้ใช้งาน จากนั้นระบบจะแสดงรายชื่อตามที่เราพิมพ์ให้คลิกเลือก รายชื่อดังกล่าว

เมื่อเลือกชื่อผู้จัดการฝ่ายได้แล้ว ให้คลิกที่ บันทึก เพื่อบันทึกชื่อผู้จัดการฝ่ายเข้ามาในแผนผังองค์กร

เมื่อคลิก บันทึกแล้วระบบจะทำการบันทึกข้อมูลแบบชั่วคราว และกลับมายังหน้าแผนผังองค์กรอีกครั้ง

ถัดไปก็จะมาสร้าง ผู้จัดการแผนกในระบบ ให้คลิกไปที่ +เพิ่ม ผจก.แผนก

เมื่อคลิกที่ +เพิ่ม ผจก.แผนก ระบบจะทำการเปิดหน้าต่าง เพิ่มผู้ใช้งานในแผนผังขึ้นมา

ให้พิมพ์รายชื่อผู้ใช้งานที่จะเป็นผู้จัดการแผนก ในช่องระบุผู้ใช้งาน จากนั้นระบบจะแสดงรายชื่อตามที่เราพิมพ์ให้คลิกเลือก รายชื่อดังกล่าว

เมื่อเลือกชื่อผู้จัดการแผนกได้แล้ว ให้คลิกที่ บันทึก เพื่อบันทึกชื่อผู้จัดการแผนกเข้ามาในแผนผังองค์กร

เมื่อคลิก บันทึกแล้วระบบจะทำการบันทึกข้อมูลแบบชั่วคราว และกลับมายังหน้าแผนผังองค์กรอีกครั้ง

ถัดไปก็จะมาสร้าง พนักงานระดับปฏิบัติการในระบบ ให้คลิกไปที่ +เพิ่ม พนง.ระดับปฏิบัติการ

เมื่อคลิกที่ +เพิ่ม พนักงานระดับปฏิบัติการ ระบบจะทำการเปิดหน้าต่าง เพิ่มผู้ใช้งานในแผนผังขึ้นมา

ให้พิมพ์รายชื่อผู้ใช้งานที่จะพนักงานระดับปฏิบัติการ ในช่องระบุผู้ใช้งาน จากนั้นระบบจะแสดงรายชื่อตามที่เราพิมพ์ให้คลิกเลือก รายชื่อดังกล่าว

เมื่อเลือกชื่อผู้จัดการแผนกได้แล้ว ให้คลิกที่ บันทึก เพื่อบันทึกชื่อผู้จัดการแผนกเข้ามาในแผนผังองค์กร

เมื่อคลิก บันทึกแล้วระบบจะทำการบันทึกข้อมูลแบบชั่วคราว และกลับมายังหน้าแผนผังองค์กรอีกครั้ง

ในกรณีที่มีผู้จัดการฝ่ายคนนี้มีลูกน้องระดับปฏิบัติการหลายคน ให้ทำการคลิก+เพิ่ม พนง.ระดับปฏิบัติการ เรื่อยๆจนครบจำนวนพนักงานระดับปฏิบัติการ

เมื่อทำการเพิ่มทุกคนเข้ามาครบถ้วนในผังองค์กรแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก อีกครั้งเพื่อยืนยันการสร้างผังองค์กร

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะแสดงหน้าต่าง ยืนยันการแก้ไขข้อมูลแผนผังองค์กรขึ้นมา ให้คลิกที่ บันทึก

และเมื่อกด บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูลและแสดงหน้าต่าง ผลการดำเนินการ บันทึกข้อมูลสำเร็จ ให้คลิกที่ ปิด ก็จะเสร็จสิ้นการสร้างแผนผังองค์กร

12.14 ตั้งค่า-สาเหตุการปฏิเสธงานซ่อม

เป็นการเพิ่มเหตุผลปฏิเสธงานซ่อม เมื่อเพิ่มแล้วผู้ที่มีสิทธิ์ในการปฏิเสธใบงานซ่อมได้หรือหัวหน้า จะสามารถเลือกสาเหตุในการปฏิเสธใบงานแจกซ่อมจากในระบบที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งผู้ที่มีสิทธิ์ในการปฏิเสธใบงานซ่อมได้ก็ต่อเมื่อมีสิทธิ์ในการแจกงานซ่อมหรือหัวหน้าเท่านั้น  ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > สาเหตุการปฏิเสธงานซ่อม

เมื่อคลิกเข้ามาที่ สาเหตุการปฏิเสธงานซ่อม ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า สาเหตุการปฏิเสธงานซ่อม

ให้คลิกที่ +เพิ่มสาเหตุการปฏิเสธงานซ่อม

เมื่อคลิกที่ เพิ่มสาเหตุการปฏิเสธงานซ่อม แล้วระบบจะทำการเปิดหน้า เพิ่มสาเหตุการปฏิเสธงานซ่อม ซึ่งจะมีช่องให้สำหรับกรอก ข้อมูลรายละเอียดการปฏิเสธงานซ่อม

เมื่อใส่ ข้อมูลสาเหตุที่จะปฏิเสธงานซ่อม ตามต้องการได้แล้วให้คลิกที่ บันทึก เพื่อบันทึกข้อมูล

เมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า สาเหตุการปฏิเสธงานซ่อม อีกครั้ง

 

12.15 ตั้งค่า-ประเภทใบงานซ่อม

เป็นการเพิ่มและตั้งค่าประเภทใบงานซ่อม เมื่อเพิ่มแล้วผู้แจ้งซ่อมก็จะสามารถเลือกประเภทใบงานซ่อมได้จากในระบบที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > ประเภทใบงานซ่อม

เมื่อคลิกเข้ามาที่ ประเภทใบงานซ่อม ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า ประเภทใบงานซ่อม

ให้คลิกที่ +เพิ่มประเภทใบงานซ่อม

เมื่อคลิกที่ เพิ่มประเภทใบงานซ่อม แล้วระบบจะทำการเปิดหน้า เพิ่มประเภทใบงานซ่อม ซึ่งจะมีช่องให้สำหรับกรอก ข้อมูลรายละเอียดชื่อประเภทใบงาน และเลือกชื่อแผนกที่รับผิดชอบใบงานซ่อมนี้ ***ในกรณีที่ระบุว่าใบงานซ่อมนี้ เป็นของแผนกใดแผนกหนึ่ง จะต้องไปกำหนดรายชื่อช่างให้ตรงกับแผนกที่รับผิดชอบใบงานนนี้ด้วย เพื่อให้มีช่างที่จะรับผิดชอบประเภทใบงานนนี้

เมื่อใส่ ข้อมูลชื่อประเภทใบงานซ่อม ตามต้องการได้แล้วให้คลิกที่ บันทึก เพื่อบันทึกข้อมูล

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะแสดงหน้าต่างขึ้นมาว่า Add Repair Type Save Successful  ให้คลิกที่ OK

เมื่อคลิกที่ OK ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า ประเภทใบงานซ่อม อีกครั้ง

12.16 ตั้งค่า-User Tag

เป็นการเพิ่มและตั้งค่าแท็กสถานะต่างที่เกิดขึ้นบ่อยๆในงานซ่อม เมื่อเพิ่มแล้วจะทำให้ทั้งช่าง หัวหน้าช่าง สามารถเลือก User Tag ต่างๆที่มีในระบบที่กำหนดไว้ได้ เพื่ออัพเดตสถานะของงานซ่อมให้ทุกคนที่อยู่ในกระบวนการงานซ่อมนี้ได้ทราบความคืบหน้า ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > User Tag

เมื่อคลิกเข้ามาที่ User Tag ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า User Tag

ให้คลิกที่ +เพิ่ม User Tag

เมื่อคลิกที่ User Tag แล้วระบบจะทำการเปิดหน้า เพิ่มUser Tag ซึ่งจะมีช่องให้สำหรับกรอก ข้อมูลรายละเอียดของชื่อแท็ก และให้เลือกสีของชื่อแท็กดังกล่าว

เมื่อใส่ ชื่อแท็ก และเลือกสีของแท็ก ตามต้องการได้แล้วให้คลิกที่ บันทึก เพื่อบันทึกข้อมูล

 

 

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะแสดงหน้าต่างขึ้นมาว่า Success Save Successful  ให้คลิกที่ OK

เมื่อคลิกที่ OK ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า User Tag อีกครั้ง

12.17 ตั้งค่า-หน่วยการวัด

เป็นการเพิ่มและตั้งค่าหน่วยของการวัด เพื่อให้การสร้างใบงานเช็คชีทในหมวดของค่าวัด มีหน่วยการวัดที่ต้อง ที่เราทำการเพิ่มเข้าระบบแล้วมาแสดงหน่วยวัดให้เราเลือกได้ ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > หน่วยการวัด

เมื่อคลิกเข้ามาที่ หน่วยการวัด ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า หน่วยการวัด

ให้คลิกที่ +เพิ่มหน่วยการวัด

เมื่อคลิกที่ +เพิ่มหน่วยการวัด แล้วระบบจะทำการเปิดหน้า เพิ่มหน่วยการวัด ซึ่งจะมีช่องให้สำหรับกรอก ข้อมูลรายละเอียดของชื่อของหน่วยวัด

เมื่อใส่ ชื่อหน่วยวัด ตามต้องการได้แล้วให้คลิกที่ บันทึก เพื่อบันทึกข้อมูล

เมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า เพิ่มหน่วยการวัด อีกครั้ง

12.18 ตั้งค่า-ระบบ PM

เป็นการเพิ่มและตั้งค่าในหมวดหมู่ระบบงานซ่อมบำรุง PM/AM เป็นการกำหนดเลขที่ใบงาน PM/AM เลขเอกสารควบคุม การรับอีเมลแจ้งเตือนลวงหน้าก่อนถึงแผนงานบำรุงรักษา ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > ระบบ PM

เมื่อคลิกเข้ามาที่ ระบบ PM ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า ระบบ PM และมีเมนูย่อย ดังนี้

  • เลขที่ใบ PM คือ การกำหนดให้ระบบรันเลขใบงานซ่อมบำรุง PM/AM อัตโนมัติ
  • เลขที่ใบควบคุม คือ การกำหนดเลขเอกสารของงานซ่อมบำรุงบนระบบมาตราฐาน ISO ต่างๆ
  • แจ้งเตือนอีเมล คือ การให้ระบบส่งอีเมลแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดงานบำรุงรักษา PM/AM

ระบบ PM-เลขที่ใบ PM

หากต้องการกำหนดให้ระบบรันเลขใบงานซ่อมบำรุง PM/AM อัตโนมัติ ให้คลิกที่ เลขที่ใบ PM

เมื่อคลิกเข้ามาที่ เลขที่ใบ PM ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า กำหนดรูปแบบเลขที่ใบ PM/AM

ในช่องว่าง สามารถใส่ตัวเลขหรือตัวอักษรได้ตามต้องการ ตัวอย่าง เช่น แผนงานบำรุงรักษา เมื่อกรอกข้อมูลแล้วระบบ จะมีตัวอย่าง รูปแบบเลขที่ใบ PM/AM ให้ดูก่อน

เลือกจำนวนหลักของตัวนับ คือ การกำหนดให้ระบบมีเลขของงานว่าทั้งหมดกี่หลัก เริ่มจาก 2 หลัก และสูงสุดที่ 5 หลัก (ตัวอย่างผมจะเลือก 4 และให้สังเกตุ ตรงตัวอย่างจะเปลี่ยนแปลงตามที่เลือก)

  • 2 คือ มีเลขสองหลัก ตัวอย่าง 01,10,20,99
  • 3 คือ มีเลขสามหลัก ตัวอย่าง 001,110,520,999
  • 4 คือ มีเลขสี่หลัก ตัวอย่าง 0001,1110,3210,9999
  • 5 คือ มีเลขห้าหลัก ตัวอย่าง 00001,12340,23450,99999

และระบบยังสามารถให้ เลือกตามรูปแบบต่างๆที่ระบบมีเป็นพื้นฐาน ดังนี้

  • เติมรูปแบบวันที่ คือ กำหนดให้เลขที่ใบงานซ่อมมีการแสดงวันที่ เดือน ปี (ปี คศ)
  • เติมรูปแบบประเภท PM/AM คือ การเอาประเภทงานซ่อมบำรุงระหว่าง PM หรืองาน AM มาแสดงในเลขที่ใบงาน PM/AM
  • เติมรหัสสถานที่ คือ การเอารหัสของสถานที่ตั้งของเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ทำการแจ้งซ่อมมาแสดงในเลขที่ใบงาน PM/AM  (***สามารถกำหนดค่าได้ในเมนู ตั้งค่า > สถานที่ตั้งเครื่อจักร / อุปกรณ์ หากเติมรหัสสถานที่ ทุกสถานที่จะต้องมีรหัส)
  • เติมรหัสสถานที่ย่อย คือ การเอารหัสของสถานที่ตั้งย่อยของเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ทำการแจ้งซ่อมมาแสดงในเลขที่ใบงาน PM/AM (***สามารถกำหนดค่าได้ในเมนู ตั้งค่า > สถานที่ตั้งเครื่อจักร / อุปกรณ์ หากเติมรหัสสถานที่ย่อย ทุกสถานที่ย่อยจะต้องมีรหัส)

เมื่อทำการเลือกทุกอย่าง เสร็จแล้ว ให้กด บันทึก จะขอยกตัวอย่าง จะเติมรูปแบบวันที่ และ เติมรูปแบบประเภท PM/AM

ระบบ PM-เลขที่ใบ PM

หากต้องการกำหนดเลขเอกสารของงานซ่อมบำรุงบนระบบมาตราฐาน ISO ต่างๆ ให้คลิกที่ เลขที่ใบควบคุม

เมื่อคลิกเข้ามาที่ เลขที่ใบควบคุม ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า กำหนดเลขที่เอกควบคุม

ใส่เลขเอกสารที่ขึ้นทะเบียนไว้ในระบบมาตราฐาน อย่างใบงาน PM ก็ให้นำเลขเอกสารกรอกที่ช่อง ใบงาน PM และกดบันทึก

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะแสดงหน้าต่างขึ้นมาว่า Success Save Successful  ให้คลิกที่ OK

เมื่อคลิกที่ OK ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า กำหนดเลขที่เอกควบคุม อีกครั้ง

ระบบ PM-แจ้งเตือนอีเมล

หากต้องการให้ระบบส่งอีเมลแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดงานบำรุงรักษา PM/AM ให้คลิกที่ แจ้งเตือนอีเมล

เมื่อคลิกเข้ามาที่ แจ้งเตือนอีเมล ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า แจ้งเตือน PM/AM ส่งถึง

หากอีเมลที่ต้องการให้ส่งมีมากกว่า 1 อีเมล เมื่อกรอกอีเมลคนแรกเสร็จแล้วให้กด Enter ที่คีบอร์ด กรอกได้สูงสุดไม่เกิน 10 อีเมล จากนั้นเมื่อครบถ้วนแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะทำการแสดงข้อความว่า Success Updating Successful ให้คลิก ปิด

เมื่อคลิกที่ ปิด ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า แจ้งเตือน PM/AM ส่งถึง อีกครั้ง

12.19 ตั้งค่า-ระบบสอบเทียบ

เป็นการเพิ่มและตั้งค่าในหมวดหมู่ระบบงานสอบเทียบ เป็นการกำหนดชื่อหัวใบงานสอบเทียบ การรับอีเมลแจ้งเตือนลวงหน้าก่อนถึงแผนการสอบเทียบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > ระบบ สอบเทียบ

เมื่อคลิกเข้ามาที่ ระบบ PM ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า ระบบ PM และมีเมนูย่อย ดังนี้

  • หัวใบสอบเทียบ PM คือ การกำหนดชื่อหัวเอกสารของงานสอบเทียบ
  • แจ้งเตือนอีเมล คือ การให้ระบบส่งอีเมลแจ้งเมื่อผู้ให้บริการสอบเทียบลงประวัติการสอบเทียบ

ระบบสอบเทียบ-หัวใบสอบเทียบ

หากต้องการกำหนดชื่อหัวเอกสารของงานสอบเทียบ ให้คลิกที่ หัวใบสอบเทียบ

เมื่อคลิกเข้ามาที่ หัวใบสอบเทียบ ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า หัวเอกสารผลสอบเทียบ

ใส่ชื่อหัวเอกสารผลสอบเทียบ ตามต้องการ และกดบันทึก

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะทำการแสดงข้อความว่า Success Updating Successful ให้คลิก ปิด

เมื่อคลิกที่ ปิด ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า หัวเอกสารผลสอบเทียบ อีกครั้ง

ระบบสอบเทียบ-แจ้งเตือนอีเมล

หากต้องการให้ระบบส่งอีเมลแจ้งเมื่อผู้ให้บริการสอบเทียบลงประวัติการสอบเทียบ ให้คลิกที่ แจ้งเตือนอีเมล

เมื่อคลิกเข้ามาที่ แจ้งเตือนอีเมล ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า แจ้งเตือนเมื่อผู้ให้บริการสอบเทียบลงประวัติ ส่งถึง

หากอีเมลที่ต้องการให้ส่งมีมากกว่า 1 อีเมล เมื่อกรอกอีเมลคนแรกเสร็จแล้วให้กด Enter ที่คีบอร์ด กรอกได้สูงสุดไม่เกิน 10 อีเมล จากนั้นเมื่อครบถ้วนแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะทำการแสดงข้อความว่า Success Updating Successful ให้คลิก ปิด

เมื่อคลิกที่ ปิด ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า แจ้งเตือน PM/AM ส่งถึง อีกครั้ง

12.20 ตั้งค่า-ระบบอะไหล่

เป็นการเพิ่มและตั้งค่าในหมวดหมู่ระบบอะไหล่ เป็นการกำหนดรายชื่อของอะไหล่ Master Spare Part หน่วยนับของอะไหล่ สถานที่เก็บอะไหล่ เหตุผลการขอเบิกอะไหล่ การรับอีเมลการแจ้งเตือนเมื่ออะไหล่เหลือน้อยตามที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งเราจะยังอยู่ที่เมนู ตั้งค่า > ระบบ อะไหล่

เมื่อคลิกเข้ามาที่ ระบบอะไหล่ ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า ระบบอะไหล่ และมีเมนูย่อย ดังนี้

  • รายชื่ออะไหล่ คือ การกำหนดรายชื่อของอะไหล่ Master Spare Part
  • หน่วยนับ คือ การกำหนดหน่วยนับของอะไหล่
  • ที่เก็บอะไหล่ คือ การกำหนดสถานที่ตั้งของอะไหล่ / สารเคมี
  • เหตุผลการขอเบิก คือ การกำหนดเหตุผลในการขอเบิกอะไหล่ / สารเคมี ในกรณีที่ไม่ได้เบิกจากในใบงานซ่อม
  • การแจ้งเตือน คือ การกำหนดให้ระบบทำการส่งอีเมลแจ้งเตือนให้ใครบ้าง เมื่อรายการอะไหล่เหลือน้อยกว่าจำนวนที่ตั้งค่าไว้

ระบบอะไหล่-รายชื่ออะไหล่

หากการกำหนดรายชื่อของอะไหล่ Master Spare Part ให้คลิกที่ รายชื่ออะไหล่

เมื่อคลิกเข้ามาที่ รายชื่ออะไหล่ ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า รายชื่ออะไหล่

คลิกไปที่ +เพิ่มรายการอะไหล่

จากนั้นให้ผู้ใช้งานคลิกที่ เพิ่มรายชื่ออะไหล่ ซึ่งสามารถทำการข้อมูลต่างๆ ของรายชื่ออะไหล่ เช่น

  • รหัส (รหัสของอะไหล่) ***ห้าม Code ซ้ำกัน,อักขระพิเศษ
  • ชื่อ (ชื่อของอะไหล่) ***ห้ามชื่อของอะไหล่ซ้ำกัน
  • ประเภทอะไหล่ (กำหนดประเภทของอะไหล่ ว่าเป็นวัสดุสิ้นเปลือง หรือ เป็นอะไหล่)
  • จำนวน Min (เป็นการกำหนดหากจำนวนเหลือน้อยตามที่กำหนดแล้วจะแจ้งเตือน)
  • จำนวน Max
  • สเปค (กำหนดสเปคของอะไหล่ จะระบุหรือไม่ก็ได้)
  • หน่วยนับ (กำหนดหน่วยนับของอะไหล่ จากที่เราสร้างไว้ ในหน้า 97)
  • ราคาต่อหน่วย (กำหนดราคาของอะไหล่)
  • ซัพพลายเออร์ (กำหนดรายชื่อซัพพลายเออร์ของอะไหล่ จากที่เราสร้างไว้ในหน้า )
  • ระยะเวลาการจัดซื้อ (วัน) (กำหนดระยะเวลาเพื่อให้ทราบว่ารายการนี้มีระยะเวลากี่วันในการจัดซื้อ)
  • ไลน์การผลิต (เป็นการกำหนดว่าอะไหล่รายการนี้ ไปใช้กับไลน์การผลิตไลน์ไหน)
  • ยี่ห้อ (เป็นการระบุยี่ห้อของอะไหล่)

เมื่อกรอกข้อมูลต่างๆ ครบถ้วนตามที่ได้บอกข้างบนแล้ว ให้ผู้ใช้งานคลิกที่ บันทึก  เพื่อทำการบันทึกข้อมูล

เมื่อคลิกที่ บันทึก แล้วระบบ จะเปิดหน้าต่าง Add New Spare Part add sparepart successful ให้คลิกที่ OK ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเพิ่มรายชื่ออะไหล่

ระบบอะไหล่-หน่วยนับ

การกำหนดหน่วยนับของอะไหล่ ให้คลิกที่ หน่วยนับ

เมื่อคลิกเข้ามาที่ หน่วยนับ ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า หน่วยของอะไหล่

คลิกไปที่ +เพิ่มหน่วยของอะไหล่

เมื่อคลิกเข้าไปที่ เพิ่มหน่วยของอะไหล่ ระบบจะทำการเปิดหน้าต่าง เพิ่มหน่วยอะไหล่ เพื่อให้ผู็ใช้งาน ทำการเพิ่มข้อมูลหน่วยของอะไหล่ได้ (***ข้อกำหนด หน่วยของอะไหล่ที่ใส่จะต้องไม่ซ้ำกัน***)

เมื่อเพิ่มหน่วยนับของอะไหล่ครบแล้ว ให้ผู้ใช้งาน คลิกที่ บันทึก เพื่อทำการบันทึกข้อมูล หน่วยนับของอะไหล่

เมื่อคลิกที่ บันทึก แล้วระบบ จะเปิดหน้าต่าง Add new spare part unit! Saving successful ให้ผู้ใช้งานคลิกที่ OK ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเพิ่มหน่วยนับของอะไหล่

ระบบอะไหล่-ที่เก็บอะไหล่

เป็นการกำหนดสถานที่ตั้งของอะไหล่ / สารเคมี หรือสถานที่ตั้งของคลังอะไหล่ ให้คลิกที่ ที่เก็บอะไหล่

เมื่อคลิกเข้ามาที่ ที่เก็บอะไหล่ ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า สถานที่ตั้งอะไหล่ / สารเคมี

คลิกไปที่ +เพิ่มสถานที่ตั้งอะไหล่ / สารเคมี

เมื่อคลิกที่ +เพิ่มสถานที่ตั้งอะไหล่ / สารเคมี ระบบจะทำการเปิดหน้าต่าง สถานที่ตั้งอะไหล่ / สารเคมี ซึ่งสามารถทำการข้อมูลต่างๆ ของรายชื่ออะไหล่ เช่น

  • รหัสสถานที่ตั้งอะไหล่ / สารเคมี  ***การกำหนด Code หรือตัวเลขรหัสของสถานที่ตั้งอะไหล่
  • สถานที่ตั้งอะไหล่ / สารเคมี ***การกำหนดชื่อของสถานที่ตั้งอะไหล่

เมื่อกรอกข้อมูล รหัสสถานที่ตั้งอะไหล่ / สารเคมี และสถานที่ตั้งอะไหล่ / สารเคมี ครบถ้วนแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก

เมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า สถานที่ตั้งอะไหล่ / สารเคมี อีกครั้ง

ระบบอะไหล่-เหตุผลการขอเบิก

เป็นการกำหนดเหตุผลในการขอเบิกอะไหล่ ที่ไม่ได้เบิกในใบงานซ่อม หรือไม่ได้เบิกในใบงานบำรุงรักษา PM/AM รวมไปถึงเหตุผลในการยืม เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไปใช้งานในระบบ ยืม-คืน ให้คลิกที่ เหตุผลการขอเบิก

เมื่อคลิกเข้ามาที่ เหตุผลการขอเบิก ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า เหตุผลในการเบิกเครื่องจักร / อุปกรณ์ / อะไหล่

คลิกไปที่ +เพิ่มเหตุผลในการเบิกเครื่องจักร / อุปกรณ์ / อะไหล่

เมื่อคลิกเข้าไปที่ +เพิ่มเหตุผลในการเบิกเครื่องจักร / อุปกรณ์ / อะไหล่ ระบบจะทำการเปิดหน้าต่าง เพิ่มเหตุผลในการเบิกเครื่องจักร / อุปกรณ์ / อะไหล่ เพื่อให้ผู็ใช้งาน ทำการเพิ่มเหตุผลในการเบิกเครื่องจักร / อุปกรณ์ / อะไหล่

เมื่อกรอกข้อมูล เหตุผลในการเบิกเครื่องจักร / อุปกรณ์ / อะไหล่ ครบถ้วนแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก

เมื่อคลิกที่ บันทึก ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า เหตุผลในการเบิกเครื่องจักร / อุปกรณ์ / อะไหล่ ครบถ้วนแล้ว อีกครั้ง

ระบบอะไหล่-การแจ้งเตือน

การกำหนดให้ระบบทำการส่งอีเมลแจ้งเตือนให้ใครบ้าง เมื่อรายการอะไหล่เหลือน้อยกว่าจำนวนที่ตั้งค่าไว้ ให้คลิกที่ การแจ้งเตือน

เมื่อคลิกเข้ามาที่ การแจ้งเตือน ระบบจะทำการเปิดหน้าไปยังหน้า กำหนดอีเมลที่รับการแจ้งเตือน ส่งถึง

หากอีเมลที่ต้องการให้ส่งมีมากกว่า 1 อีเมล เมื่อกรอกอีเมลคนแรกเสร็จแล้วให้กด Enter ที่คีบอร์ด กรอกได้สูงสุดไม่เกิน 10 อีเมล จากนั้นเมื่อครบถ้วนแล้ว ให้คลิกที่ บันทึก

หลังจากที่คลิก บันทึก ระบบจะทำการแสดงข้อความว่า Success Updating Successful ให้คลิก ปิด

เมื่อคลิกที่ ปิด ระบบจะทำการบันทึกข้อมูล และกลับมายังหน้า กำหนดอีเมลที่รับการแจ้งเตือน ส่งถึง อีกครั้ง